วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การเรียนรู้ระบบสองภาษา (ไทย-มลายู) แบบประยุกต์สำหรับเด็กปฐมวัยจังหวัดชายแดนใต้

          การเรียนรู้ระบบสองภาษา (ไทย-มลายู) แบบประยุกต์สำหรับเด็กปฐมวัยจังหวัดชายแดนใต้                      โดย : คุณครูพี่เอ๋  ภูวสุดา  สุวรรณวารี
                        โรงเรียนบ้านจาหนัน  ม.6  ตำบลพร่อน  อำเภอเมือง  จังหวัดยะลา

      โรงเรียนบ้านจาหนัน นักเรียนทั้งหมดนับถือศาสนาอิสลาม การชีวิตประจำวันจึงเป็นวิถีชีวิตแบบมุสลิม ได้แก่ การพูด เด็กๆใช้ภาษาถิ่นในชีวิตประจำวัน เมื่อมาโรงเรียนจึงพูดภาษาไทยไม่ชัดเจน 
      สำหรับเด็กๆ ระดับปฐมวัย การเรียนรู้ภาษาไทยจึงมีความสำคัญมาก เด็กๆต้องการปูพื้นฐานด้านภาษาไทยที่ดี
      คุณครูพี่เอ๋ จึงได้จัดทำสื่อการสอน "ระบบสองภาษา (ไทย-มลายู) แบบประยุกต์สำหรับเด็กปฐมวัย" ขึ้น เพื่อส่งเสริมภาษาไทยสำหรับเด็กปฐมวัย






ตัวอย่างสื่อสองภาษา (ไทย-มลายู) แบบประยุกต์สำหรับเด็กปฐมวัยจังหวัดชายแดนใต้

หน่วย "ผลไม้แสนอร่อย"



หน่วย "ดอกไม้แสนสวย"



หน่วย "สัตว์น่ารัก"



หน่วย "ผักสดมีประโยชน์"










วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

                             สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
สื่อของเด็กปฐมวัย
      
       สื่อ หมายถึง ตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้หรือเป็นตัวกลางในการนำความต้องการจากผู้ส่งไปยังผู้รับเพื่อให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ประเภทสื่อของเด็กปฐมวัย
        1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ
        2. สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์
        3. สื่อการสอนประเภทวิธีการ
 
การเลือกสื่อ มีวิธีการดังนี้
        1. เลือกให้ตรงกับจุดมุ่งหมายและเรื่องที่สอน
        2. เลื่อกให้เหมาะสมกับวัยและความสามารถของเด็ก
        3. เลือกให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมท้องถิ่นที่เด็กอาศัยอยู่

การจัดหาสื่อ
        1. จัดหาโดยการของยืมจากแหล่งต่างๆ
        2. จัดซื้อสื่อ
        3. ผลิตขึ้นเอง

การใช้สื่อ
      ในการใช้สื่อการสอนทุกครั้ง ต้องมีการเตรียมความพร้องของสื่อก่อนที่จะนำไปใช้ โดยมีขั้นตอนดังนี้คือ
         1. เตรียมครูผู้สอน
         2. เตรียมตัวเด็ก
         3. เตรียมสื่อ

การนำเสนอสื่อ
         1. เร้าความสนใจเด็กด้วยคำถามก่อน
         2. ใช้สื่อดำเนินกิจกรรมตามลำดับขั้นตอนที่วางแผนไว้
         3. ไม่ควรให้เด็กเห็นสื่อก่อน เพราะอาจทำให้เด็กหมดความสนใจ
 
 
 
 


การดูแล การเก็บรักษาสื่อ
         1. เก็บให้เป็นระเบียบตามประเภทของสื่อ
         2. วางสื่อไว้ในระดับสายตาเด็ก เพื่อที่เด็กสามารถหยิบใช้ง่าย
         3. เก็บสื่อไว้ในภาชนะที่โปร่งใส เพื่อให้เด็กมองเห็นสื่งที่อยู่ข้างใน และควรมีขนาดพอเหมาะที่เด็กสามารถขนย้ายได้
         4. ฝึกให้เด็กรู้ความหมายของรูปภาพ สี สัญลักษณ์แทนหมวดหมู๋ ประเภท เพื่อให้เด็กสามารถเก็บได้อย่างถูกต้อง
         5. ตรวจสอบสภาพสื่อทุกครั้งหลังใช้เสร็จ
         6. ซ่อมแซมสื่อที่ชำรุด และเติมส่วนที่ขาดหายไป

การประเมินสื่อ  พิจารณาจากองค์ประกอบ 3 ประการ คือ ผู้สอน เด็ก และสื่อ ใช้วิธีการสังเกตดังนี้
         1. สื่อนั้นช่วยให้เด็กเรียนรู้มากเพียงใด
         2. เด็กชอบสื่อนั้นมากเพียงใด
         3. สื่อนั้นช่วยให้การสอนตรงกับจุดประสงค์มากหรือไม่ ถูกต้องตามสาระการเรียนรู้และทันสมัยหรือไม่
        4. สื่อนั้นช่วยให้เด็กสนใจมากน้อยเพียใด เพาระเหตุใด

การ
พัฒนาสื่อ
        1. ปรับปรุงสื่อให้ทันสมัยเข้ากับเหตุการณ์ ใช้สะดวก ไม่ยุ่งยาก
        2. รักษาความสะอาดของสื่อ
        3. ถ้าเป็นสื่อที่ผลิตขึ้นเอง ควรมีคู่มือประกอบการใช้สื่อด้วย
        4. พัฒนาสื่อให้สามารถช่วยเสริมสร้างพัฒนาการและเป็นของเล่นได้ด้วย